![]() |
ดอกออกเป็นช่อบริเวณยอดอ่อนจากซอกก้านใบ ดอกจะออกเป็นคู่จากกาบรองดอกที่เรียงซ้อนกันเป็น แถวในระนาบเดียวกัน สลับซ้ายขวาจากแกนช่องดอก(distichous) หรือเรียงสลับกันเป็นวง(spiral) ดอกเป็นดอก สมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผผู้มีจำนวนมาก แต่สมบูรณ์เพียง 1 อัน ส่วนที่ เหลือเป็นหมันจะเปลี่ยนรูปไปคล้ายกลีบดอก 1 กลีบ ลักษณะของช่อดอกมี 4 แบบ คือ แบบดอกช่อ กระจุกอยู่ ปลายก้าน แบบช่อแขนง แบบช่อกระจะ และแบบช่อเชิงลด ผลซึ่งไม่เคยจะพบนักมี 2 ลักษณะ คือ ผลแห้ง เมื่อ แก่อาจแตหรือไม่แตกออก และผลที่มีเนื้อนุ่ม และมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
![]() | ![]() |
ธรรมชาติของคล้ามักขึ้นตามป่าที่มีดินแฉะหรือมีน้ำขัง เจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น(18-30 อาศา เซลเซียส) ความชื้นสูง แสงรำไร ลมโกรกน้อย แตก็มีบางสกุลที่ทนอุณหภูมิต่ำมากๆ ได้ ใบของคล้าจะไวต่อแสง แดด ความชื้น และอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมาก เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่นในฤดูฝน ใบจะมีสีสันและ ลวดลายสวยงาม แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดขณะที่มีคามชื้นในอากาศน้อยและอุณหภูมิสูง เช่นในฤดูร้อนหรือฤดู หนาว จะทำให้
เกิดรอยไหม้บนใบหรือขอบใบแห้ง ส่วนวัสดุปลูกนั้นต้องมีความชุ่มชื้น มีการระบายน้ำดี และมี อินทรียวัตถุปนอยู่บ้าง เช่น ดินปนทราย
การขยายพันธุ์
ควรทำในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน วิธีที่นิยมกันคือการแบ่งเหง้าหรือหัวที่โตเ๖มที่มาปลูกใหม่ ราว 2 - 3 สัปดาห์ ต้นใหม่ก็จะเริ่มตั้งตัวได้และเริ่งผลิใบใหม่ขึ้น ส่วนการเพาะเมล็ดจะให้ผลช้ากว่า และต้นที่ได้อาจมีการ กลายพันธุ์จากต้นเดิมจึงไม่นิยม ยกเว้นทำเพื่อผลิตลูกผสม
โรคและแมลงศัตรู
โรคที่พบมาก คือ โรคใบจุดสนิม เกิดจากเชื้อรา จะมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วใบ ระบาดมากในฤดูหนาว ส่วนแมลงศัตรูที่พบได้แก่ เพลี้ยแป้ง ตั๊กแตน หนอนบุ้ง และไรแดง
ปัจจุบันคล้าที่ปลูกกันอยู่ในประเทศไทยมีทั้งชนิดที่เป็นพืชพื้นเมืองของไทยและนำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้แก่ สกุล Calathea, Ctenanthe(สาคูทอง), Donax(คลุ้ม), Maranta(สาคู), Phrynium(สาดแดง สาดขาว), Schumannianthus(คล้า), Stachyphrynium(คล้า), Stromanthe และ Thalia(พุทธรักษาน้ำ) เป็นต้น นิยมปลูกเป็น ไม้ประดับ ใช้เป็นไม้ตัดดอก บางชนิดใช้เป็นอาหาร เช่น สาคู หรือใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค และ ยังใช้ ประดิษฐ์เป็นเครื่องจักสานได้อีกด้วย
ที่มาข้อมูล : หนังสือสารานุกรม "ไม้ประดับในประเทศไทย เล่ม1" โดยคณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านและสวน